ต้นมะขาม

ต้นไม้ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์


 


ชื่อวิทยาศาสตร์ - Tamarindus indica L.

ชื่ออื่นๆ - มะขามไทย (ภาคกลาง), ขาม (ภาคใต้), ตะลูบ (โคราช), ม่วงโคล้ง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), อำเปียล (เขมร จังหวัดสุรินทร์)

ชื่ออื่นๆ (อังกฤษ) - Tamarind


ลักษณะทั่วไป

ไม้เขตร้อน มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกาแถบประเทศซูดาน ต่อมามีการนำเข้ามาในประเทศแถบเขตร้อนของเอเชีย และประเทศแถบละตินอเมริกา และในปัจจุบันมีมากในเม็กซิโก

เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่แตกกิ่งก้านสาขามากไม่มีหนาม เปลือกต้นขรุขระและหนา สีน้ำตาลอ่อน

ใบ - เป็นใบประกอบแบบขนนก (pinnately compound leaves) ใบเล็กออกตามกิ่งก้านใบเป็นคู่ ใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบและโคนใบมน ประกอบ ด้วยใบย่อย 10–15 คู่ แต่ละใบย่อยมีขนาดเล็ก กว้าง 2–5 มม. ยาว 1–2 ซม. ออกรวมกันเป็นช่อยาว 2–16 ซม.

ดอก - ออกตามปลายกิ่ง ดอกมีขนาดเล็ก กลีบดอกสีเหลืองและมีจุดประสีแดง/ม่วงแดงอยู่กลางดอก

ผล - เป็นฝักยาว รูปร่างยาวหรือโค้ง ยาว 3-20 ซม. ฝักอ่อนมีเปลือกสีเขียวอมเทา สีน้ำตาลเกรียม เนื้อในติดกับเปลือก เมื่อแก่ฝักเปลี่ยนเป็นเปลือกแข็งกรอบหักง่าย สีน้ำตาล เนื้อในกลายเป็นสีน้ำตาลหุ้มเมล็ด เนื้อมีรสเปรี้ยว และ/หรือหวาน ซึ่งฝักหนึ่ง ๆ จะมี/หุ้มเมล็ด 3–12 เมล็ด เมล็ดแก่จะแบนเป็นมัน และมีสีน้ำตาล


ประโยชน์

การนำมาใช้เป็นยา

คุณค่าทางโภชนาการ


สถานที่พบ - บริเวณสวนศึกษา 1 ต้น ข้างเรือนรัชพรติดกับห้องแลบเคมี 1 ต้น และบริเวณข้างทางเดินจากประตูด้านศาลพระภูมิ 1 ต้น


 


ขอขอบคุณข้อมูลจาก